- วามขัดแย้งระหว่างประเทศครั้งสำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2
ความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษ
ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจตะวันตกในการแข่งขันแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบกับการขยายตัวของลัทธิชาตินิยมในยุโรปที่รุนแรงมากขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีผลสืบเนื่องถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็นตามลำดับสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918)สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรปและขยายเป็นสงครามโลก เนื่องจากมีประเทศในทวีปอื่น เช่น อเมริกาเหนือ และเอเชียเข้าร่วมในสงครามนี้สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 1 การขยายตัวของลัทธิชาตินิยม การขยายลัทธิจักรวรรดินิยม การพัฒนาระบบพันธมิตรของประเทศยุโรปและการเติบโตของลัทธิทหารนิยม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1การขยายตัวของลัทธิชาตินิยม ลัทธิชาตินิยมในยุโรปขยายตัวอย่างรวดเร็วในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในแหลมบอลข่านที่ต้องการปกครองตนเองและเป็นอิสระจากอำนาจของจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน ประเทศที่ส่งเสริมกลุ่มชาตินิยมในแหลมบอลข่าน คือ เซอร์เบีย (Serbia)การขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยม การแข่งขันขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจยุโรปในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศเหล่านั้นจนทำให้มีการแบ่งขั้วอำนาจที่ปรากฏในระบบพันธมิตรของยุโรประบบพันธมิตรของยุโรป ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปรัสเซีย (Prussia) ได้พัฒนาเป็นจักรวรรดิเยอรมนีและผนึกกำลังชาติพันธมิตรเพื่อโดดเดี่ยวฝรั่งเศสซึ่งเป็นศัตรูและคู่แข่งสำคัญในการขยายลัทธิจักรวรรดินิยม ต่อมาได้เกิดระบบพันธมิตรของยุโรป คือกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Alliance) หรือกลุ่มมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย เยอรมณีและออสเตรีย – ฮังการี และกลุ่มไตรภาคี (Triple Entente) หรือฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย การแบ่งขั้วอำนาจในยุโรปทำให้แต่ละประเทศกล้าเผชิญหน้ากันเพราะต่างก็มีพันธมิตรหนุนหลังการเติบโตของลัทธิทหารนิยม ผู้นำประเทศในยุโรปต่างเชื่อว่าการสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่จะต้องใช้กำลังทหารสนับสนุนและทำสงครามขยายอำนาจ เช่น ปรัสเซียใช้วิธีการทำสงครามเพื่อขยายดินแดนฝรั่งเศส และเดนมาร์ก ส่วนอิตาลีก็ใช้กำลังสงครามรุกรานอบิสซิเนีย ดังนั้นรัฐบาลต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนากองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ อนึ่ง ความเข้มแข็งทางการทหารและการสนับสนุนจากกองทัพได้ทำให้ประเทศเหล่านั้นยินดีเข้าสู่สงครามชนวนสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ 1914 กลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บ (Serb) ซึ่งต้องการปลดแอกจากจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการีได้ลอบสังหารมกุฎราชกุมารฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ (Archduke Franz Ferdinand) แห่งออสเตรีย ขณะเสด็จเยือนประเทศเซอร์เบีย ออสเตรีย – ฮังการียื่นคำขาดให้เซอร์เบียรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เซอร์เบียไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ อีกไม่กี่วันต่อมา ออสเตรีย – ฮังการีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนีจึงประกาศสงครามต่อเซอร์เบีย รัสเซียได้เข้าช่วยเซอร์รบ อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรของรัสเซียจึงเข้าร่วมรบด้วยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ในปีต่อมาอิตาลีก็เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร แม้จะเคยร่วมกลุ่มไตรพันธมิตรกับออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีมาก่อนก็ตาม ส่วนฝ่ายมหาอำนาจกลางก็มีจักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมกับออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนี ทำให้สงครามขยายไปทั่วยุโรป เอเชียและแปซิฟิก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 เกิดปฏิวัติในประเทศรัสเซีย และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบโซเวียตภายใต้อุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศทำให้รัสเซียถอนตัวจากสงคราม อย่างไรก็ตามสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ขยายวงออกไปอีก เพราะอีก 2 เดือนต่อมาสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วใกับฝ่ายพันธมิตร สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงในปลาย ค.ศ. 1918 โดยฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมด้านการเมือง สงครามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญในยุโรป เพราะทำให้จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย มีประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออก แถบทะเลบอลติกและแหลมบอลข่าน เช่น ฮังการี เชคโกสโลวาเกีย โรมาเนีย บุลแกเรีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ฯลฯ พร้อมกันนั้นยังมีความพยายามก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เพื่อป้องกันสงครามและรักษาสันติภาพด้วยด้านเศรษฐกิจ สงครามทำให้ประเทศต่างๆ ประสบหายนะทางเศรษฐกิจ และจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างรีบด่วน โดยเฉพาะการผลิตสินค้าส่งออก แต่เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ขาดกำลังซื้อ จึงทำให้สินค้าขายไม่ออกและส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำที่ลุกลามไปทั่วโลกด้านสังคม สงครามทำให้ผู้คนเสียชีวิตและพิการมากกว่า 8 ล้านคน ประเทศต่างๆ ต้องเร่งฟื้นฟูสังคม นอกจากนี้ยังทำให้ลัทธิชาตินิยมขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่เป็นผู้แพ้สงคราม เช่น เยอรมนีซึ่งต่อมาได้ก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อแก้แค้นฝ่ายสัมพันธมิตรสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945)สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลกระทบที่สืบเนื่่องจากสงครมโลกครั้งที่ 1 โดยเยอรมนีเป็นผู้เริ่มสงคราม สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ขยายสนามรบออกไปนอกยุโรปคือ แอฟริกา เอเชียและแปซิฟิก เป็นสงครามที่มีการประหัตประหารและทำลายล้างกันรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เยอรมนีส่งกองทัพบุกโปแลนด์ ดังนั้นอังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนี นับเป็นการเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประกอบด้วยฝ่ายพันธมิตร (Allied Nations) ซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ และฝ่ายอักษะ (Axis ซึ่งมีเยอรมนีและอิตาลีเป็นแกนนำ ต่อมาญี่ปุ่นได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะและเริ่มต้นสงครามมหาเอเชียบูรพาด้วยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล (Pearl Harbor) และยึดครองเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นและเข้าร่วมสงครามกกับฝ่ายพันธมิตร สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 โดยฝ่ายพันธมิตรได้รับชัยชนะสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 สามารถวิเคราห์ได้จากทั้งฝ่ายอักษะและฝ่ายพันธมิตร ดังนี้ฝ่ายอักษะ ลัทธิจักรวรรดินิยมผสมผสานกับลัทธิชาตินิยมเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งเสริมให้เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นทำสงครามขยายอำนาจครอบครองดินแดนโพ้นทะเลและทรัพยากรอันมั่งคั่ง อนึ่ง การที่ประเทศเหล่านี้มีแนวทางที่คล้ายคลึงกันคือ ต่างสนับสนุนลัทธิจทหารนิยมและการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ก็ทำให้สามารถรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรกัน รวมทั้งมีความมั่นใจในการก่อสงครามฝ่ายพันธมิตร ปลายทศวรรษ 1930 เยอรมนีขยายอำนาจคุกคามดินแดนใกล้เคียง เช่น การผนวกแคว้นสุเดเตน (Sudeten) ของเชคโกสโลวาเกีย แต่ฝ่ายพันธมิตรกลับดำเนิน “นโยบายเอาใจ” (Appeasement Policy) โดยไม่มีปฏิกิริยาต่อต้าน เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงครามกับเยอรมนี จึงทำให้เยอรมนีได้ใจและบุกโปแลนด์ต่อไป จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามโลกครั้งที่ 2 ขยายพื้นที่สงครามครอบคลุมทวีป ทำให้เกิผลกระทบมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกด้านด้านการเมือง สงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของโลกที่สำคัญคือ ดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราช มีประเทศเกิดใหม่ในเอเชียและแอฟริกาจำนวนมาก อำนาจของยุโรปเสื่อมลงจึงต้องผนึกกำลังเป็นสหภาพยุโรป (European Union) ในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาซึ่งช่วยกอบกู้สถานการณ์สงครามและนำชัยชนะให้กับฝ่ายพันธมิตรได้ขึ้นมาเป็นผู้นำโลก สหรัฐอเมริกาเข้าไปจัดระเบียบโลก และสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะการนำประชาคมโลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็นที่ส่งผลต่อชะตากรรมของมนุษยชาติในโลกปัจจุบันด้านเศรษฐกิจ ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีมูลค่าที่ไม่อาจประเมินได้ ประเทศส่วนใหญ่ซึ่งรวมทั้งประเทศในยุโรปต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจนานนับ 10 ปีจึงฟื้นตัวได้ ทำให้มีการก่อตั้งองค์การทางการเงินระหว่างประเทศเพื่อช่วยบูรณะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เช่น ธนาคารโลก และ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (International MonetaryFund = IMF)ด้านสังคม สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำลายล้างชีวิตผู้คนจำนวนมหาศาล มีผู้บาดเจ็บล้มตายในสงครามโลกครั้งที่ 2 มากกว่า 20 ล้านคน ทั้งยังทำให้เกิดการพลัดพรากในครอบครัว อนึ่ง สงครามโลกครั้งที่นี้ยังส่งผลกระทบต่อจริยธรรมและศีลธรรมของผู้คนในสังคมอย่างมาก เนื่องจากการมีการประหัตประหารกันอย่างโหดร้ายทารุณ และการใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างรุนแรงต่อมนุษยชาติ เช่น การที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูญี่ปุ่นที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) ในอีก 3 วันต่อมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทันทีมากกว่า 1 แสนคนสภาพเมืองฮิโรชิมา หลังจากสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูอนุภาคของระเบิดปรมาณูที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่นสงครามเย็นสงครามเย็น (Cold War) เป็นศัพท์ใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หมายถึง ภาวะตึงเครียดระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ใช้วิธีการต่างๆ ในการต่อสู้ ยกเว้นการเผชิญหน้า จึงหวั่นเกรงกันว่าความตึงเครียดในสงครามเย็นอาจจะนำไปสู่ภาวะสงครามร้อนได้ และกลายเป็นสงครามโลกอีกครั้งหนึ่งความขัดแย้งในสงครามเย็นปรากฏเด่นชัดใน ค.ศ. 1947 เมื่อประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน (Harry S. Truman) แห่งสหรัฐอเมริกาประกาศหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ซึ่งเป็นการประกาศต่อต้านการแทรกแซงใดๆ ต่อรัฐบาลที่ชอบธรรมในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะยุโรปตะวันออก กรีซ ตุรกีและอิหร่านซึ่งกำลังเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ เนื่องจากกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์ทำการจลาจลต่อต้านรัฐบาลของตนสาเหตุของสงครามเย็น สงครามเย็นมีรากฐานมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศเสรีนิยมที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปตะวันตกกับสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจดังกล่าวเกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตและขยายเป็นสงครามเย็นในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆ เติบโตและส่งผลให้โลกถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโลกเสรีกับฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์วิกฤตการ์ณในสงครามเย็น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดวิกฤตต่างๆ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งและการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายโลกเสรีกับฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งสร้างความตึงเครียดและหวาดวิตกต่อประชาคมโลก ด้วยเกรงว่าเหตุวิกฤตนั้นจะนำไปสู่สงครามโลกครั้งใหม่ วิกฤตในสงครามเย็นที่สำคัญ เช่นการปิดล้อมกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1948 – 1949 เป็นการปิดล้อมเบอร์ลินตะวันตกโดยฝ่ายเยอรมนีตะวันออกเพื่อกดดันเยอรมนีตะวันตกการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือองค์การนาโต (North Atlantic Treaty Organization = NATO) ค.ศ. 1949 เป็นการรวมกลุ่มทางทหารนำโดยสหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตรในเขตมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือสงครามเกาหลี ค.ศ. 1950 – 1953 เป็นสงครามระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาและกำลังอาสาสมัครของประเทศสมาชิกสหประชาติเข้าไปช่วยทำสงครามในเกาหลีใต้การรวมกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) ค.ศ. 1955 เป็นการรวมกลุ่มทางทหารระหว่างสหภาพโซเวียตและประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกเพื่อตอบโต้องค์การนาโตสงครามเวียดนาม ค.ศ. 1960 – 1975 เป็นสงครามระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ที่สหรัฐอเมริกาส่งทหารเข้าไปรบกับพวกคอมมิวนิสต์เวียดนามซึ่งยึดเวียดนามเหนือวิกฤตการณ์ขีปนาวุธที่คิวบา ค.ศ. 1962 เป็นเหตุการณ์ที่สหภาพโซเวียตพยายามนำขีปนาวุธไปติดตั้งที่คิวบาซึ่งเป็นประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในลาตินอเมริกา สหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นการคุกคามต่อสหรัฐอเมริกาและทวีปอเมริกาโดยตรง จึงประกาศจะตอบโต้อย่างรุนแรง โซเวียตจึงยินยอมถอนขีปนาวุธกลับไป เพราะไม่ต้องการทำสงครามนิวเคลียร์กับสหรัฐอเมริกาการผ่อนคลายและการสิ้นสุดขอสงครามเย็น การผ่อนคลายของสงครามเย็น (Detente) เริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เมื่อกลุ่มประเทศประชาธิปไตยและสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เริ่มหันหน้าเข้าหากัน เพื่อผ่อนคลายภาวะตึงเครียดของสงครามเย็นเนื่องจากต่างตระหนักว่า ไม่อาจปล่อยให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจรุนแรงเพิ่มมากขึ้นต่อไป เพราะจะนำไปสู่จุดแตกหักที่ส่งผลต่อสันติภาพของโลกได้ เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การผ่อนคลายและการสิ้นสุดของสงครามเย็นได้แก่การปรับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากีบจีนคอมมิวนิสต์ ค.ศ. 1972 โดยประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ของสหรัฐอเมริกา เดินทางไปเยือนปักกิ่ง ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาค่อยๆ ถอนทหารออกจากเวียดนาม และทำให้สงครามเวียดนามยุติลงและเข้าพบ เหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ค.ศ. 1972การประชุมสุดยอดเบรซเนฟ – นิกสัน (Brezhnev’ – Nixon Summit 1972) ระหว่างนายกรัฐมนตรีเบรซเนฟของสหภาพโซเวียตและประธานาธิบดีนิกสันส่งผลให้มีการลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ 2 ครั้ง (Strategic Arms Limitation Talks = SALT) ใน ค.ศ. 1972 และค.ศ. 1979นโยบายเปเรสทอยกาและกลาสนอส (Perestoika – Glasnos ค.ศ. 1985) เริ่มในสมัยของนายกรัฐมนตรีกอร์บาชอพ (Gorbachev) แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งประกาศปฏิรูปประเทศตามแนวทางประชาธิปไตยและเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ เป็นผลให้มีการผ่อนคลายความเข้มงวดของระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์โซเวียต ทำให้ประเทศในยุโรปตะวันออกมีอิสระในการกำหนดระบอบปกครองของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่เลือกวิถีทางเสรีประชาธิปไตยการทำลายกำแพงเบอร์ลินและการรวมเยอรมนี ค.ศ. 1989 เยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกได้รวมประเทศทำให้การเผชิญหน้าอันยาวนานระหว่างยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออกยุติลงระบอบสหภาพโซเวียตล่มสลาย ค.ศ. 1991 ถือว่าเป็นการยุติสงครามเย็นที่ยาวนานและตึงเครียดหลังจากนั้นรัฐต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้ระบอบสหภาพโซเวียตก็แยกเป็นรัฐอิสระ ส่วนศูนย์ฏกางการปกครองสหภาพโซเวียตเดิมก็คือประเทศรัสเซียในปัจจุบันเหตุการณ์ความขัดแย้งของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่กล่าวมาข้างต้น มีความรุนแรงก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลต่อประชาคมโลก ทั้งยังมีผลกระทบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์เหล่านี้เป็นบทเรียนจากประวัติศาสตร์ที่ควรแก่การศึกษาและเผยแพร่เพื่อให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นต่อสังคมและมนุษยชาติในปัจจุบัน
ตัวหนังสือ
วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
กำหนดการเรียนรู้ครั้งที่14
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น